นิกายที่สำคัญของศาสนาพุทธ 


นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา
      ศาสนาพุทธมีนิกายที่สำคัญอยู่ ๒ นิกาย อันเกิดจากการสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นเหตุให้มีการถือพระวินัยแตกต่างกัน คือ
      ๑.นิกายเถรวาท ได้แก่ นิกายที่ทางคณะคณะสงฆ์อันมีพระยศกาลัณบุตรถือตามแนวพระพุทธบัญญัติ ดังที่พระเถระทั้งมีพระมหากัสสปะเป็นประธานได้ทำสังคายนาไว้ พระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พวก "สถวีระ" หรือในกาลต่อมาถูฏพวกนิกายมหายานเรียกว่า "หีนยาน" ซึ่งแปลว่า ยานเลว ยานเล็กยานคับแคบ ไม่สามารถขนสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์มากได้ เพราะมีวัตรอันเข้มงวดกวดขัน ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุจุดหมายปลายทางได้ยาก แต่ในการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งแรกที่ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกใช้คำว่า "หีนยาน" และให้กลับใช้คำว่า "เถรวาท" แทนเพราะเห็นว่า คำว่า "หีนยาน" เกิดขึ้นเพราะการแก่งแย่งแข่งขันในอดีต นิกายเถรวาทนี้ตั้งมั่นอยู่ในประเทศลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพชา
      ๒.นิกายอาจริยวาท ได้แก่ นิกายที่พระภิกษุชาววัชชีบุตรถือตามที่อาจารย์ของตนได้แก้ไขขึ้นในภายหลัง พระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาสังฆฺกะ" และในเวลาต่อมาเรียกตัวเองว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่าว่า ยานใหญ่โตสามารถบรรทุกสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์ได้มาก เพราะการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้อำนวยความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะช่วยสามารถนำสัตว์ความพ้นทุกข์ได้จำนวนมาก นิกายมหายานนี้แพร่หลายในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย เกาหลี เวียตนาม สิกขิม และภูฏาน

     ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานโดยหลักการใหญ่ก็ลงรอยกัน แม้ว่านิกายมหายานจะมีลัทธินิกายแยกย่อยออกไปอีกมาก มีพระสูตรและพระคัมภีร์ศาสนาเพิ่มขึ้นระยะหลังอีกเป็นอันมากก็ตาม ต่อไปนี้เป็นข้อแตกต่างในบางประเดน

นิกายเถรวาท

นิกายมหายาน


๑.ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ
๒.ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ







๓.มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว คือ พระสมณโคดม หรือพระศากยมุนี 





๔.มีความพ้นจากกิเลส ชาติภพ เป็นอัตตัตถจริยาแล้วบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นโลกัตถจริยาเป็นความมุ่งหมายสำคัญ



๕.มีบารมี ๑๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา อันให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า

๖.ถือพระไตรปิฎกเถรวาท คือ พระธรรมวินัยยุติตามปฐมสังคายนา ไม่มีพระธรรมวินัยใหม่เพิ่มเต็ม


๗.รักษาวินัยเดิมเอาไว้


๘.ถือว่าพระอรหันต์เมื่อนิพพานแล้วไม่เกิดอีก


๙.ยอมรับแต่ธรรมกายและนิรมานกายบางส่วน นอกนั้นไม่ยอมรับ


๑.ถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ
๒.ถือปริมาณเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงค่อยปรับปรุงคุณภาพในภายหลัง ดังนั้นจึงต้องลดหย่อนการปฏิบัติพระวินัยบางข้อลงเข้าหาบุคคล และเพิ่มเทวดา และพิธีกรรมสังคีตกรรมเพิ่งจูงใจคน ได้อธิบาบพุทธมติอย่างกว้างขวางเกินประมาณเพื่อการเผยแผ่จนทำให้พระพุทธพจน์ ซึ่งเป็นสัจนิยมกลายเป็นปรัชญาและตรรกวิทยาไป

๓.มีพระพุทธเจ้าหลายองค์ องค์เดิมคือ อาทิพุทธ(กายสีน้ำเงิน) เมื่อท่านบำเพ็ญฌานก็เกิดพระฌานิพุทธอีกมาก เป็นต้นว่า พระไวโรจนพุทธะ อักโขภัยพุทธะ รัตนสมภพพุทธะ ไภสัชชคุรุ โอฆสิทธิ และอมิตาภา เฉพาะองค์นี้ที่มาในร่างคนเป็น (มานุษีพุทธะ)คือ พระศากยมุนี

๔.มีความเป็นพระโพธิสัตว์ หรือพุทธภูมิ เพื่อบำเพ็ญโลกัตถจริยาได้เต็มที่ เป็นความมุ่งหมายและมีพระโพธิสัตว์หลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร มัญชุสี วัชรปาณี กษิติครรภ สมันตภัทร อริยเมตไตรย เป็นต้น

๕.มีบารมี ๖ ประการ คือ ทาน ศีล วินัย ขันติ ฌาน ปัญญา อันให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์และเป็นปฏิปทาของพระโพธิสัตว์

๖.ถือพระธรรมวินัยเก่า และมีพระสูตรใหม่เพิ่ใมเติม เช่น สุขาวดีวยูหสูตร ลังกาวตาร สัทธรรมปุณฑริกสูตร ปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นต้น

๗.ปรับปรุงพระธรรมวินัยให้เข้ากับภาวะแวดล้อม

๘.ถือว่าพระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้วย่อมกลับมาเกิดใหม่ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าอีก

๙.ถือว่าพระพุทธเจ้ามีกาย ๓ คือ ธรรมกาย ได้แก่ กายธรรม สัมโภคกาย หรือกายจำลอง หรือกายอวตารของพระพุทธเจ้า แบบนารายอวตาร คือ ที่พระพุทธเจ้าเป็นพระกัสสปสัมพุทธะบ้าง เป็นพระศากยมุนีบ้าง เป็นพระกกุสันธะบ้าง เป็นต้น นั้นล้วนเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้าองค์เดิม (อาทิพุทธะ) ทั้งนั้น และนิรมานกาย คือ กายที่ต้องอยู่ในสภาพของธรรมดาคือ ต้องแก่ เจ็บ และปรินิพพาน ซึ่งเป็นกายที่พระพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อสอนคนให้เห็นความจริงของชีวิต แต่สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ที่แท้นั้นไม่ต้องอยู่ในสภาพเช่นนี้ แบบเดียวกับปรมาตมันของพราหมณ์

 

การแต่งกายของพระสงฆ์นิกายเถรวาท

 





การแต่งกายของพระสงฆ์นิกายมหายาน

 








>>

<<

!!