พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ

   
   คนส่วนมากมักจะลักเลใจว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่หรือเป็นเพียงนิยายที่เล่าสืบทอดกันมาเหมือนบางศาสนา ปัญหาข้อนี้จึงตอบได้ว่า  พระพุทธเจ้ามีจริง  เพราะหลักฐาน ๓ ประการ คือ
๑. หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ท่านคงได้ศึกษามาแล้ว เกี่ยวกับสังเวชนียสถาน เช่น 


สวนลุมพินีวัน คือ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในตำบล "ลุมมินเด" ก่อนนั้น ยังอยู่ในเขตอินเดีย คราวเมื่อแบ่งปันเขตแดนหลังสงคราม ปี พ.ศ.๒๔๙๓ (ค.ส.๑๙๕๐) ลุมพินีวัน ตกอยู่ในเขตของประเทศเนปาล

     เมื่อมองย้อนอดีต สถานที่นี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง กรุงกบิลพัสดุ์ กับ กรุงเทวทหะ มีโขดเขาล้อมรอบ ประดับด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ ทั้งสระน้ำ บรรณศาลาที่พักดอกไม้สวยงาม ส่งกลิ่นระรวยรื่นชื่นใจในฤดูใบไม้ผลิต เป็นสวนพฤกษชาติที่หย่อนใจ เวลาว่างจากการงานของชาวกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ

     ดูตามประวัติศาสตร์ผนวกกับวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ได้จาริกลุมพินีไว้ในฐานะเป็นสถานที่ประสูติของเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะมกุฏราชกุมาร
แห่งศากยกมหานคร เมื่อ ๘๐ ปี ก่อน พ.ศ. ๑

     ก่อนพระมหาบุรุษอุบัติ ในคัมภีร์ทศชาติ พรรณาถึงการบำเพ็ญบารมีในชาติ
ปางก่อนว่า ครั้งสุดท้ายพระโพธิสัตว์ทรงเป็นเทพบุตรประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต ก่อนเสด็จอุบัติลงสู่โลกมนุษย์ ทรงพรรณาถึง "ปัญจมหาวิโลกนะ" ๕ ประการ คือ
กาลอันควร ทวีปอันควร ประเทศอันควร ตระกูลผู้ให้กำเนิดอันควร และมารดา
ผู้มีอายุอันควร

     ทรงพิจารณาเห็นว่าตระกูลของผู้ครองนครศากยะ เป็นที่เหมาะแก่การอุบัติและผู้ที่ควรรับรองกำเนิดคือพระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตัดสินพระทัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ เมื่อวันอาสาฬหปูรณมีเพ็ญเดือน ๘ และได้เสด็จอุบัติ ณ สวนลุมพินีวันสถาน เวลาแดดอ่อน ตะวันยังไม่ตรงศีรษะดีนัก วันศุกร์เพ็ญเดือน ๖ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งไม้ ประสูติพระโอรสได้สะดวก ข้าราชบริพารนำชำระในสระสรงสนามโบกขรณี ส่วนหนึ่งก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ และจัดขบวนรับเสด็จนิวัติสู่พระมหานคร

 

สวนลุมพินีวัน คือสถานที่ประสูต
ิของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งใน
กาลต่อมาได้ตรัสรู้เป็นองค
์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภาพ
จะเห็นเสาหินศิลาจารึกของ
พระเจ้าอโศกมหาราชอัน
เป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะ
ประสูติถัดมาจะเป็นวิหาร
มายาเทวีซึ่งสร้างขึ้นในภาย
หลังเพื่ออนุสรณ์ ส่วนด้านหน้า
คือสระน้ำโบกขรณีกล่าวกันว่า
เป็นที่สนานพระวรกายของ
เจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากประสูติ



มหาเจดีย์มหาโพธิ์ สันนิฐานกันว่าพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้นไว้ก่อน ขนาดคงย่อมกว่านี้ แต่ด้วยแรงศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึงมีผู้มาต่อเติมเสริมสร้าง และบูรณะปฏิสังขรกันต่อมาตามยุตสมัย เช่น ราว พ.ศ.๖๗๔ พระเจ้าหุวิชกะ กษัตริย์แคว้นมคธ ทรงช่วยสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบ เป็นสถูปใหญ่ของพระพุทธศาสนา ที่มีชื่อเสียงแผ่ไปไกล หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า มหาโพธิ์วิหาร อันเป็นผลิตผลทางสถาปัตยกรรมของอินเดีย มหาวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์ในปัจจุบัน

     บริเวณมหาโพธิ์วิหารได้กลายเป็นที่สำคัญที่สุด เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์นี้ ประกอบกับที่นี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณนับถืออยู่แล้ว เท่ากับว่าบริเวณนี้เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของโลก

     มหาชนทั้งหลายกล่าวกันว่า ที่ต้นโพธิ์ตรัสรู้แห่งนี้ เป็นสะดือของโลก หรือปัถวินาภิมณฑล เพราะเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาทรงตรัสรู้ที่นี้ทั้งนั้น และไม่มีสถานที่อื่นจะสามารถรองรับน้ำหนักของการตรัสรู้ได้ โพธิรุกขะ คือ ต้นไม้โพธิ์นี้ย่อมถือว่าเป็นเสมือนขวัญใจของชาวพุทธทั่วโลก

     เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หลวงจีนท่านบันทึกไว้ว่า "ทางตะวันออกของต้นโพธิ์นั้น มีวิหารสูงประมาณ ๑๖๐-๑๗๐ ฟุต กำแพงเบื้องล่างของวิหารด้านนอก สูงประมาณ ๒๙ หรือกว่านั้น ตัวอาคารทำด้วยกระเบื้อง (อิฐ) สีฟ้า ทาทับด้วยปูนขาว ทุกห้องในชั้นต่างๆ บรรจุรูปที่ทำด้วยทองคำมากมาย ตัวตึกทั้ง ๔ ด้าน ประดับประดาด้วยลวดลายอันมหัศจรรย์ รูปไข่มุกที่ร้อยเป็นสายประดับไว้ที่หนึ่ง"

     หลวงจีนยังได้บันทึกไว้อีกว่า "ตัวอาคารล้อมรอบด้วยทองแดงชุบ ประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายอันวิจิตร ประดับด้วยทอง เงิน มุก และรัตนะต่างๆ ด้านขวาซ้ายประตูนอกเป็นซอกคล้ายๆ ห้อง ด้านซ้ายมีรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้านขวาเป็นรูปพระไมเตรยโพธิสัตว์ รูปเหล่านี้ทำด้วยเงินขาว สูง ๖๐ ฟุต " คันนิ่งแฮม ถือว่า วิหารหลังปัจจุบัน แม้จะได้รับการซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว ก็คือวิหารหลังเดียวกันกับที่นักจาริกแสวงบุญชาวจีนท่านนั้นได้พรรณนาไว้

     พระเจดีย์มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีแท่นวัชรอาสน์อยู่ตรงกลาง สูงตามรูปทรงกรวย ประมาณ ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานได้ประมาณ ๘๕ เมตรเศษ ตั้งอยู่บนอาคารรองรับ ๒ ชั้น มีเจดีย์บริวารทั้ง ๔ ด้าน

   รอบบริเวณ มีเสาหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก มีรั้วล้อมไว้อย่างแข็งแรง ปรากฏร่องรอยการบูรณะสืบต่อกันมาหลายยุค โดยเฉพาะสมัยพระสุเมธาธิบดี (ทตฺตสุทฺธิ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้นำศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย บูรณะเสาหินล้อมรอบพระเจดีย์ และห้องปฏิบัติสมาธิชั้นบนของพระเจดีย์โดยมีพระราชโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นแม่กองงาน พร้อมทั้งติดโคมไฟ ที่สาดแสงส่องได้สูงถึงยอด

มหาเจดีย์พุทธคยา คือสถานที่
สำคัญอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์
พุทธศาสนาเพราะเจ้าชายสิทธัตถะ
ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิธาณ
คือ ตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ณ ทีนี้ปัจจุบันอยู่ห่าง
ออกไปทางทิศใต้ของเมืองคยา
ประมาณ ๑๐ กม.

 สถูปโบราณทรงบาตรคว่ำก่อด้วยหินทราย สถูปสร้างอุทิศแด่ผู้เห็นธรรม
(ธัมเมกข = ธัมมะ + อิกขะ : อิกขะ แปลว่าเห็นธัมมะ แปลว่าธรรม) หมายถึง "สถานที่แสดงธรรมที่นำพาให้ถึงความหลุดพ้น" มียอดทรงกรวย สูงประมาณ ๘๐ ฟุต วัดโดยรอบประมาณ ๑๒๐ ฟุต สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ท่าน ผู้เดินทางไปแสวงบุญ นิยมมาเจริญภาวนาบูชาสักการะกันในบริเวณนี้

   สารนาถ บริเวณนี้เคยเป็นอุทยานที่กว้างใหญ่ มีต้นไม้ร่มรื่น สนามหญ้าเขียวขจี มีสวนกวางขนาดย่อมทางด้านหลัง และสวนสัตว์อีกด้วย โดยเฉพาะนกยูงซึ่งอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เป็นการสร้างบรรยากาศให้คล้ายคลึงกับครั้งพุทธกาล ในอาณาบริเวณมีซากวัตถุโบราณที่ทำการขุดค้นแล้วมากมาย

     พุทธสถานแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสี่ของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ที่พระพุทธองค์ตรัสเชิญชวนให้พุทธบริษัทได้เข้าใกล้ทั้งกายและใจ เพื่อให้เกิดความสังเวช อันเป็นคุณเครื่องนำพาไปสู่ความเจริญ สถูปแห่งนี้เคยงดงาม สง่าด้วยพุทธศิลป์ สมณะจีนบันทึกไว้คราวมานมัสการว่า รอบสถูปทั้ง ๘ ช่อง มีพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ครบ นักแสวงบุญมาเวียนเทียนประทักษิณ สวดมนต์ ไหว้พระกันที่นี้ ทั้งนี้เพราะว่า ณ จุดที่ตั้งธัมเมกสถูป เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา นำให้โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระพุทธศานา ในกาลต่อมา ณ ที่แห่งนี้ พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นที่ชุมชนของพุทธสาวก ๖๐ องค์ ส่งออกประกาศพระพุทธศาสนา นับได้ว่าเป็นพระธรรรมทูตชุดแรก    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพทั้งหลายว่า

     "จรถ ภิกขฺเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย"     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์และความสุข แก่มหาชนเพื่ออนุเคราะห์โลก อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมที่งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ให้ครบบริบูรณ์โดยสิ้นเชิงเถิด"

     "สถูปแห่งนี้บางแห่งเรียกว่า ธรรมมุขะ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์คุปต์ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศรีอริยเมตไตรย โดยเข้าใจว่า ณ สถานที่นี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้คำมั่นสัญญาแก่พระศรีอริยเมตไตรยว่า ผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตจะต้องเป็นพระศรีอริยเมตไตรย และสถานที่บริเวณสารนาถตามความเห็นของอินเดีย มีความสำคัญสำหรับพระพุทธศาสนา ๓ ประการคือ

     ๑. เชื่อกันว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูตติที่นี่
     ๒. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทานปฐมเทศนาที่นี่
     ๓. พระพุทธองค์ทรงตกลงกับพระศรีอริยเมตไตรยที่สถูปธรรมมุข เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต

ธัมเมกขสถูป เป็นพุทธปูชนียสถาน
อันเก่แก่ ของสารนาถ สร้างด้วย
ศิลาแลงอย่างแข็งแรงและสง่างาม
ทั้งยังมีลวดลายสลักหินที่วิจิตรงดงาม
อยู่ตอนล่าง ซึ่งธัมเมกสถูปนี้ว่ากันว่า
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างไว้

 

พระเจ้าอโศกมหาราช เคยเสด็จมายังสถานที่ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินาราแห่งนี้ และได้บริจาคพระราชทรัพย์หนึ่งแสนรูปี โปรดดำริให้ก่อสร้างพระสถูปขนาดใหญ่ขึ้น ณ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ เมื่อวันเพ็ญวิสาขบูชา โดยสร้างคร่อมแท่นปรินิพพาน พร้อมด้วยต้นสาละนั่นเอง มีลักษณะทรงบาตรคว่ำ สูงราว ๗๐ ฟุต บนยอดมีฉัตร ๓ ชั้น

     สถูปปรินิพพานเก่าแก่โบราณนี้มีการบูรณะกันหลายสมัย ด้วยศรัทธาที่มาก จึงทำให้สถูปนี้สูงใหญ่ขึ้น และกาลเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมทรุดลง ก็เป็นเหตุให้ทรุดโทรมลงตามลำดับ ผู้มาแสวงบุญทั้งหลาย จะพากันตั้งใจมาประทักษิณเวียนรอบ หรือนั่งเจริญภาวนาเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา นับว่าเป็นการยังความไม่ประมาทให้เกิดขึ้นได้

กุสินคร หรือ กุสินารา เป็นสถานที่
ซึ่งพระพุทธเจ้าดับขันธ์ ปรินิพพาน
และถวายเพลิงพระพุทธสรีระ พระองค์
เสด็จประทับบรรทมสีหไสยาศน์
เข้าสู่ปรินิพพานใต้ต้นรังคู่ในสาลวโนทยาน
ปัจจุบันสถานที่นี้ตั้งอยู่ตำบลกาเซีย
จังหวัดโครักขปุระ

๒. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโทธนะกับพระนางเจ้าสิริมายา แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ นามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เมื่อออกผนวชแสวงหาสัจจธรรมจนได้ตรัสรู้ และได้สั่งสอนพุทธธรรมออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะในประเทศอินเดียเท่านั้น ยังขยายออกไปทั่วโลกอีกด้วย

๓. หลักฐานที่เป็นคำสอนอันได้แก่พระธรรมวินัย
หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ได้นำหลักธรรมออกมาเผยแผ่อย่างหว้างขวาง และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก 
เพราะเพียงได้ตรัสรู้เพียง ๓ เดือนเท่านั้นก็ได้สาวกถึง ๖๐ รูป และภายใน ๙ เดือน ก็สามารถสั่งสอนสาวกที่เป็นพระอรหันต์ถึง ๑,๒๕๐ รูป 
ปัจจุบันพระพุทธศาสนามีผู้นับถืออยู่ทั่วโลก 
และประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่างก็มีตำราที่เรียกว่า "พระไตรปิฎก" กัน ทุกประเทศซึ่งปัจจุบันได้แปลออกเป็นภาษาาต่างๆกว่า ๕๐ 
ภาษาในประเทศไทยมีทั้งฉบัฐเป็นภาษามคธ(บาลี) และที่เป็นภาษาไทย

หลักฐาน ๓ ประการเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้านั้นมีจริงโดยเฉพาะหลักฐานที่เป็นคำสอน ถ้าได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง จะได้ทราบถึงความละเอียดลึกซึ้ง มีคุณค่าแก่ชีวิตมาก ยากที่คนสามัญธรรมดาจะมีความคิดความเข้าใจได้ถึงขนาดนี้ 
ผู้ที่จะสอนหลักธรรมเช่นนี้ได้ จะต้องเป็นวิญญูชน เป็นสัพพัญญูเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นโลกวิทูอย่างแท้จริงยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาในสมัยเดียวกัน. 



>>

<<

!!